Among Us - Black Crewmate

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565


 พรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับเต็ม ( ฉบับที่ 2/2560 )


                                          


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร

      พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
      ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
      เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้


พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีกี่ฉบับ

ประเทศไทย มี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาแล้ว 2 ฉบับ คือ ฉบับแรก ปี 2550 และ ฉบับสอง ปี 2560 โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด คือ ฉบับปี 2560

ความแตกต่างสำคัญระหว่างฉบับปี 2560 กับ 2550 คือ แก้ไขมิให้ “ความผิดหมิ่นประมาท” เป็นความผิดตาม พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ อีกต่อไป

เพราะในอดีต ความผิดหมิ่นประมาท ถือว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งกฎหมายระบุว่า ไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้นแม้ต่อมา คู่ความจะเจรจายอมความสำเร็จ หรืออยากถอนฟ้อง ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพิจนิจที่จะไม่ลงโทษคู่ความได้ ส่งผลให้มีคดีฟ้องร้องขึ้นศาลจำนวนมากและเกิดปัญหาทางปฏิบัติ

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำ “ความผิดหมิ่นประมาท” ออกจาก พรบ คอมพิวเตอร์ แต่ไปบังคับใช้ด้วยประมวลกฎหมายอาญาแทน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีกี่หมวด กี่มาตรา


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีอยู่ 2 หมวด โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคือ หมวด 1 “ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” เพราะเป็นหมวดที่บอกว่า พฤติกรรมใดที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีบทลงโทษอะไรอย่างไร
โดยหมวด 1 มีมาตราที่ควรสนใจทั้งหมด 11 มาตราดังนี้


จาก https://contentshifu.com/blog/computer-law


พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สาระสำคัญจำง่าย ๆ

พื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2 มีสาระสำคัญจำง่าย ๆ ดังนี้
 
1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
 
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
 
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
 
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
 
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
 
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
 
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
 
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
 
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
 
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
 
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
 
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
 
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้
 
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้

จาก https://www.ubu.ac.th/web/ocn/content/


จาก http://www.blhos.com/index.php/news/33-news-3



                              




สรุป PDPA คืออะไร ฉบับเข้าใจง่าย พร้อมแนะแนว



PDPA คือ อะไร ?

PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คือกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา หรือล่อลวง

โดยกฎหมายนี้ได้เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

PDPA มีความเป็นมาอย่างไร ?

กฎหมาย PDPA เรียกได้ว่าถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮ็กข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อข่มขู่หวังผลประโยชน์จากทั้งจากตัวเจ้าของข้อมูลเองหรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล

PDPA สำคัญอย่างไร ?

ความสำคัญของ PDPA คือการทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไปแล้ว หรือกำลังจะถูกจัดเก็บมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านและเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว

สิทธิที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของข้อมูล ทำให้ผู้ประกอบการขององค์กรและบริษัทต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงานในองค์กร หรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติของ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยหากคุณเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นตัวแทนองค์กรที่ดำเนินการเรื่อง PDPA วันนี้เราจะช่วยคุณเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA กัน

หากคุณต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการเก็บรักษาและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคคลของลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้อง คุณจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้โดยด่วน เพราะในขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มบังคับใช้ พ.ร.บ. PDPA แล้ว หากคุณไม่ดำเนินการตามหลักของ PDPA คุณอาจต้องรับโทษร้ายแรงทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง

องค์ประกอบสำคัญของ PDPA

บุคคลที่ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย PDPA ประกอบด้วย เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) และผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเปรียบเสมือนผู้ดูแลระบบ เป็นฝ่ายปฏิบัติงาน มีหน้าที่เก็บรวบรวม และนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ขอความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ขายของออนไลน์ ตัวผู้จัดทำเว็บไซต์ก็จะต้องขอข้อมูลทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการจ่ายเงิน เพื่อนำไปดำเนินการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าไปยังที่อยู่ของเจ้าของข้อมูล ซึ่ง PDPA เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วย


จาก https://pdpa.pro/blogs/in-summary-what-is-pdpa


กรณีศึกษา การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

รณีศึกษา การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (เหตุเกิด ณ ม.อ.) เมื่อช่วงเดือน มกราคม 2553 ที่ผ่านมา โดยแจ้งผู้บริหาร และผู้ใช้งานเครือข่ายคณะเภสัชศาสตร์ให้รับทราบอย่างทั่วถึง

- กรณีศึกษา การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (เหตุเกิด ณ ม.อ.)


เรียน
 ผู้บริหาร และผู้ใช้งาน เครือข่ายคณะเภสัชศาสตร์
หลังจากผมกลับจากการประชุมทีมงานผู้ดูแลระบบเครือข่าย ม.อ. ในที่ประชุมได้ยกกรณีศึกษาที่เหตุเกิดขึ้น ณ ม.อ. เมื่อช่วงเดือน มกราคม 2553 ที่ผ่านมา


เหตุการณ์โดยย่อๆ คือได้เกิดเหตุการณ์มีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่าย ม.อ. เปิดใช้งานเว็บไซต์ พันทิพย์.คอม และโพสข้อความหมิ่นประมาทบุคคลอื่น (ตามเอกสาร ที่พนักงานสอบสวนแจ้ง) และเกิดมีการแจ้งความเป็นคดีเกิดขึ้น ทำให้มีการตรวจสอบและพบว่าเป็นการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ในเครือข่าย ม.อ.

ตามเอกสารพนักงานสอบสวนสามารถระบุได้ถึงหมายเลข IP Address ประจำเครื่องที่ใช้งาน และได้ทำหนังสือมายัง ม.อ. เพื่อสอบถามว่าบุคคลใดเป็นผู้ใช้ IP Address ในวัน และเวลาดังกล่าว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างชัดแจ้ง ผมจึงขอเรียนให้ผู้ใช้งานทุกท่านตระหนักว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ ผ่านช่องทางเครือข่าย ม.อ. ขอให้พิจารณาและตรวจสอบให้ดีว่า ท่านกำลังทำผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ หรือไม่ ?


พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทลงโทษโดยย่อดังนี้

1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป...คุก 6 เดือน + ปรับ

2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น แล้วเอาไปบอกต่อ...คุกไม่เกิน 2 ปี + ปรับ

3. ข้อมูลของเขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วแอบเข้าไปดูของเขา...คุกไม่เกิน 2 ปี + ปรับ

4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วเราไปดักรับข้อมูลของเขา...คุกไม่เกิน 3 ปี + ปรับ

5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ เราไปยุ่ง แก้ไขข้อมูลเขา...คุกไม่เกิน 5 ปี + ปรับ

6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเขาทำงานอยู่ดีๆ เราเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเสีย...คุกไม่เกิน 5 ปี + ปรับ

7. ส่งอีเมลหรือข้อมูลให้เขาโดยปกปิดที่มา จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ...ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

8. ถ้าทำผิดข้อ 5 กับ ข้อ 6 แล้วสร้างความเสียหายใหญ่โต...คุกสามถึงห้าหรือสิบปีขึ้น + ปรับ

9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นเอาไปใช้ ทำเรื่องแย่ๆ ในข้อข้างบน...คุกไม่เกินปีนึง + ปรับ

10. นำเข้า ส่งต่อ เผยแพร่ข้อมูลปลอม เป็นเท็จ ท้าทายอำนาจรัฐ ลามก...คุกไม่เกิน 5 ปี + ปรับ

11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ เจ้าของระบบ เจ้าของเน็ต แล้วยอมให้เกิดข้อ 10 โดนเหมือนกัน...คุกไม่เกิน 5 ปี + ปรับ

12. เอารูปคนอื่นมาตัดต่อ หรือเอารูปที่ตัดต่อไปใส่ไว้ในเน็ต...เจอคุกไม่เกิน 3 ปี + ปรับ

13. เราทำผิด ถึงแม้จะอยู่เมืองนอก หรือเป็นคนต่างชาติ อย่าได้เข้ามาเชียว โดนอยู่แล้ว


What is blog ?


What is blog ?



    บล็อก (Blog) คือ เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ 
หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน

    คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger) จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
  • ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่
  • เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
  • สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
  • ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
  • นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing

Blog แตกต่างจาก Website อย่างไร ?

  • เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้อเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย "blogspot.com" เช่น JoJho-Problog.blogspot.com    
  • เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้) - แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
  • การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย
    ข้อดีและข้อเสียของ Blog
ข้อดี
  • มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
  • เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
  • ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
  • หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
  • สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
  • สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
  • ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
  • มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
  • Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก
ข้อเสีย
  • ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
  • แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
  • เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาสถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)
เริ่มต้นการเขียนบล็อกอย่างไรดี ?


  1. เขียนเรื่องที่ตัวเองสนใจ และรักษาความเป็น original content
  2. ฝึกออกแบบเนื้อเรื่องที่ทำให้เกิดบทสนทนา
  3. คำนึงถึงประโยชน์ต่อคนอ่าน
คลิปวิดีโอที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจทำ blog





วิธีการเปลี่ยนเคอร์เซอร์เมาส์


    1. Custom Cursor for Chrome หลังจากติดตั้ง Extensions นี้คุณจะพบกับเคอร์เซอร์มากมายกว่า 200 รูปแบบในหลากหลายหมวดหมู่ และถ้ายังไม่จุใจพอ แค่คลิกที่ปุ่ม More Cursors ก็จะพบคลังเคอร์เซอร์พร้อมพรีวิวที่น่ารักเก๋ไก๋มากมาย ไม่ว่าจะเป็น คาแรกเตอร์เกม ภาพยนต์ สิ่งของเครื่องใช้ ตราสโมสรกีฬา ฯลฯ หรือถ้าต้องการแบบไม่เหมือนใครก็สามารถอัพโหลดรูปภาพหรือไอคอนที่สร้างเองมาใช้ได้โดยคลิกปุ่ม Upload Cursor 
    2. Cute Cursors จัดเป็น Extensions ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในหมู่สาวๆ ด้วยรูปแบบเคอร์เซอร์น่ารักหวานแหววหลากหลายสไตล์ทั้งลิปสติก ดอกไม้ ม้าโพนี่ ซึ่งเคอร์เซอร์แต่ละตัวยังมีเอฟเฟ็กต์ลูกเล่นที่สวยงามอีกด้วย 
    3. Cursor Cat ทาสแมวทั้งหลายน่าจะถูกใจ Extension นี้เป็นพิเศษ แม้ว่าเคอร์เซอร์ของคุณจะไม่ได้เปลี่ยนเป็นรูปแมว แต่แมวบ๊องแบ๊วแสนน่ารัก (มีน้องแมวให้เลือก 11 แบบ) จะมีชีวิตแล้ววิ่งตามเคอร์เซอร์เมาส์ที่คุณเลื่อนไปมาบนหน้าจอ บอกเลยว่าน่ารักสุดๆ 
    4. Cursor Sparkles ส่วนตัวแล้วชอบ Extension นี้ที่สุดเพราะเคอร์เซอร์เมาส์จะดูมีชีวิตชีวาด้วยเอฟเฟ็กซ์สีและการเคลื่อนไหวที่สวยงาม ดูแล้วไม่น่าเบื่อ และเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับเวลาพรีเซนท์งาน (เพราะเคอร์เซอร์จะดึงดูดสายตามาก) คุณสามารถเลือกรูปแบบของเคอร์เซอร์ได้ 3 แบบและสามารถปรับแต่งจำนวนสีสันได้ตามต้องการ

กิจกรรมที่ 6

โรควิตกกังวล   ( Anxiety Disorder )   โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)    คือ โรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงกว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชา...

บทความที่ได้รับความนิยม